วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553

วัตถุ/สารอันตราย ตอนที่2

** สถานที่ที่ทำให้เจอ เนื่องจากในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลบางเสาธง ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สีม่วงสามารถตั้งโรงงานอุตสาหกรรมได้ จึงทำให้สามารถพบเจอได้บ่อยจากการออกพื้นที่เพื่อตรวจสอบอาคารและโรงงาน
โดยส่วนใหญ่จะเห็นได้ชัดจากโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งในที่นี้ขอยกตัวอย่าง บริษัท TOA .CO. เป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตสีทาบ้าน สารตะกั่วที่พบในโรงงานประเภทนี้ เป็นประเภทสารประกอบอนินทรีย์ตะกั่ว ออกไซด์ของตะกั่ว ได้แก่ ตะกั่วมอนอกไซด์ ( Lead monoxide ) ใช้เป็นสารสีเหลืองผสมสีทาบ้าน เป็นต้น และด้วยการที่
“ สารตะกั่ว ” มีคุณสมบัติที่อ่อนตัวสามารถแปรรูปได้โดยการดัด ทุบ รีด หลอม เป็นรูปร่างต่างๆได้ สามารถผสมเข้ากับโลหะต่าง ๆ ได้ดี รวมทั้งการทำปฏิกิริยาเกิดเป็นเกลือของตะกั่วต่าง ๆ ทำให้มันถูกนำมาใช้ เป็นส่วนผสมหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่เราใช้กันในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าที่บ้าน ที่ทำงาน หรืออื่น ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา แต่ เนื่องจากอันตรายของตะกั่ว จึงมีมาตรการลดการใช้สารอันตรายชนิดนี้ลง ที่เห็นได้ชัดคือ สี ทาบ้านและน้ำมัน แต่อย่างไรก็ตามยังพบว่ายังมีวัสดุที่มีสารตะกั่วเป็นส่วนประกอบอีกมากมาย เช่น เครื่องปั่นดินเผา แบตเตอร์รี่ หมึก สี ตัวเชื่อม ท่อน้ำ ชามเซลามิก ของเล่นเด็ก ลิปสติก ฯลฯ ซึ่งสารตะกั่วนี้สามารถอยู่ได้ทั้งในอากาศ น้ำ ดิน แม้ว่ารัฐบาลได้มีความพยายามที่จะลดสารตะกั่วออกจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา เช่น การใช้น้ำมันที่ปราศจากสารตะกั่ว การใช้ท่อประปาที่ทำจาก pvc แต่ ก็ยังตรวจพบสารตะกั่วในสิ่งแวดล้อม อยู่ประจำ

วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

วัตถุ/สารอันตราย ตอนที่1

นายประสิทธิ์ จันทร์เมือง รหัส 5214770367
นักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตรวจสอบและกฎหมายวิศวกรรม รุ่นที่ 1
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายออกแบบและควบคุมอาคาร ( นักบริหารงานช่าง 7 )
สังกัด องค์การบริหารส่วนตำบลบางเสาธง
** สาร/วัตถุอันตรายที่พบบ่อยที่สุดในที่ทำงาน : สารตะกั่ว : Lead ( สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Pb จาก Plumbum )
“ ตะกั่ว ” เป็นแร่ธาตุประเภทโลหะหนัก มีเลขอะตอมิก ๘๒ โดยเป็นธาตุที่ ๕ ของหมู่๔A ในตารางธาตุ น้ำหนักอะตอมเท่ากับ ๒๐๗.๑๙ จุดหลอมเหลว ๓๒๗.๕ องศาเซลเซียส จุดเดือด ๑๗๔๐ องศาเซลเซียส ความถ่วงจำเพาะ ๑๑.๓๔ วาเลนซี ๐,+๒และ+๔ มีลักษณะเป็นของแข็ง สีเทาปนขาว( สีเงิน) เป็นสารพิษที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต จัดอยู่ในประเภทที่ 6 จำพวก สารพิษ รหัส 2291 ตามการจำแนกของ UN
** สถานที่ที่ทำให้เจอ เนื่องจากในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลบางเสาธง ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สีม่วงสามารถตั้งโรงงานอุตสาหกรรมได้ จึงทำให้สามารถพบเจอได้บ่อยจากการออกพื้นที่เพื่อตรวจสอบอาคารและโรงงาน
โดยส่วนใหญ่จะเห็นได้ชัดจากโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งในที่นี้ขอยกตัวอย่าง บริษัท TOA .CO. เป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตสีทาบ้าน สารตะกั่วที่พบในโรงงานประเภทนี้ เป็นประเภทสารประกอบอนินทรีย์ตะกั่ว ออกไซด์ของตะกั่ว ได้แก่ ตะกั่วมอนอกไซด์ ( Lead monoxide ) ใช้เป็นสารสีเหลืองผสมสีทาบ้าน เป็นต้น และด้วยการที่
“ สารตะกั่ว ” มีคุณสมบัติที่อ่อนตัวสามารถแปรรูปได้โดยการดัด ทุบ รีด หลอม เป็นรูปร่างต่างๆได้ สามารถผสมเข้ากับโลหะต่าง ๆ ได้ดี รวมทั้งการทำปฏิกิริยาเกิดเป็นเกลือของตะกั่วต่าง ๆ ทำให้มันถูกนำมาใช้ เป็นส่วนผสมหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่เราใช้กันในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าที่บ้าน ที่ทำงาน หรืออื่น ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา แต่ เนื่องจากอันตรายของตะกั่ว จึงมีมาตรการลดการใช้สารอันตรายชนิดนี้ลง ที่เห็นได้ชัดคือ สี ทาบ้านและน้ำมัน แต่อย่างไรก็ตามยังพบว่ายังมีวัสดุที่มีสารตะกั่วเป็นส่วนประกอบอีกมากมาย เช่น เครื่องปั่นดินเผา แบตเตอร์รี่ หมึก สี ตัวเชื่อม ท่อน้ำ ชามเซลามิก ของเล่นเด็ก ลิปสติก ฯลฯ ซึ่งสารตะกั่วนี้สามารถอยู่ได้ทั้งในอากาศ น้ำ ดิน แม้ว่ารัฐบาลได้มีความพยายามที่จะลดสารตะกั่วออกจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา เช่น การใช้น้ำมันที่ปราศจากสารตะกั่ว การใช้ท่อประปาที่ทำจาก pvc แต่ ก็ยังตรวจพบสารตะกั่วในสิ่งแวดล้อม อยู่ประจำ

สารเคมี/วัตถุอันตราย

นายประสิทธิ์ จันทร์เมือง รหัส 5214770367
นักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตรวจสอบและกฎหมายวิศวกรรม รุ่นที่ 1
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายออกแบบและควบคุมอาคาร ( นักบริหารงานช่าง 7 )
สังกัด องค์การบริหารส่วนตำบลบางเสาธง
** สาร/วัตถุอันตรายที่พบบ่อยที่สุดในที่ทำงาน : สารตะกั่ว : Lead ( สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Pb จาก Plumbum )
“ ตะกั่ว ” เป็นแร่ธาตุประเภทโลหะหนัก มีเลขอะตอมิก ๘๒ โดยเป็นธาตุที่ ๕ ของหมู่๔A ในตารางธาตุ น้ำหนักอะตอมเท่ากับ ๒๐๗.๑๙ จุดหลอมเหลว ๓๒๗.๕ องศาเซลเซียส จุดเดือด ๑๗๔๐ องศาเซลเซียส ความถ่วงจำเพาะ ๑๑.๓๔ วาเลนซี ๐,+๒และ+๔ มีลักษณะเป็นของแข็ง สีเทาปนขาว( สีเงิน) เป็นสารพิษที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต จัดอยู่ในประเภทที่ 6 จำพวก สารพิษ รหัส 2291 ตามการจำแนกของ UN
** สถานที่ที่ทำให้เจอ เนื่องจากในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลบางเสาธง ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สีม่วงสามารถตั้งโรงงานอุตสาหกรรมได้ จึงทำให้สามารถพบเจอได้บ่อยจากการออกพื้นที่เพื่อตรวจสอบอาคารและโรงงาน
โดยส่วนใหญ่จะเห็นได้ชัดจากโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งในที่นี้ขอยกตัวอย่าง บริษัท TOA .CO. เป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตสีทาบ้าน สารตะกั่วที่พบในโรงงานประเภทนี้ เป็นประเภทสารประกอบอนินทรีย์ตะกั่ว ออกไซด์ของตะกั่ว ได้แก่ ตะกั่วมอนอกไซด์ ( Lead monoxide ) ใช้เป็นสารสีเหลืองผสมสีทาบ้าน เป็นต้น และด้วยการที่
“ สารตะกั่ว ” มีคุณสมบัติที่อ่อนตัวสามารถแปรรูปได้โดยการดัด ทุบ รีด หลอม เป็นรูปร่างต่างๆได้ สามารถผสมเข้ากับโลหะต่าง ๆ ได้ดี รวมทั้งการทำปฏิกิริยาเกิดเป็นเกลือของตะกั่วต่าง ๆ ทำให้มันถูกนำมาใช้ เป็นส่วนผสมหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่เราใช้กันในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าที่บ้าน ที่ทำงาน หรืออื่น ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา แต่ เนื่องจากอันตรายของตะกั่ว จึงมีมาตรการลดการใช้สารอันตรายชนิดนี้ลง ที่เห็นได้ชัดคือ สี ทาบ้านและน้ำมัน แต่อย่างไรก็ตามยังพบว่ายังมีวัสดุที่มีสารตะกั่วเป็นส่วนประกอบอีกมากมาย เช่น เครื่องปั่นดินเผา แบตเตอร์รี่ หมึก สี ตัวเชื่อม ท่อน้ำ ชามเซลามิก ของเล่นเด็ก ลิปสติก ฯลฯ ซึ่งสารตะกั่วนี้สามารถอยู่ได้ทั้งในอากาศ น้ำ ดิน แม้ว่ารัฐบาลได้มีความพยายามที่จะลดสารตะกั่วออกจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา เช่น การใช้น้ำมันที่ปราศจากสารตะกั่ว การใช้ท่อประปาที่ทำจาก pvc แต่ ก็ยังตรวจพบสารตะกั่วในสิ่งแวดล้อม อยู่ประจำ
** ความเป็นพิษ / การดูดซึมของสารตะกั่ว สามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายวิธีทั้งทางเดินอาหาร แหล่งสำคัญ คือ การปนเปื้อนของตะกั่วในอาหาร น้ำ และเครื่องดื่ม ฯ และทางเดินหายใจ เกิดจากการหายใจเอาควัน หรือฟูมของตะกั่วเข้าไป รวมถึงจากการสัมผัส ซึ่งทำให้ตะกั่วซึมผ่านทางผิวหนัง กรณีนี้ส่วนใหญ่มาจากการทำงานที่มีอัตราความเสี่ยงของการสัมผัสหรือจับต้องวัสดุที่มีส่วนผสมของสารตะกั่วเป็นองค์ประกอบบ่อยครั้ง พบว่าร้อยละ ๗๐-๘๕ ของตะกั่วที่เข้าสู่ ร่างกายจะสามารถดูดซึมสารตะกั่วจากทางเดินอาหาร ร้อยละ 11 ในผู้ใหญ่ แต่สำหรับเด็กจะดูดซึมได้มากถึงร้อยละ ๓๐-๗๕ จะเห็นได้ว่าหากมีสารตะกั่วในอาหารทางเดินอาหารของเด็กจะดูดซึมได้ดีมาก เด็กที่ขาดอาหาร ขาดธาตุเหล็ก ขาดธาตุแคลเซียม หรืออาหารมันๆจะเพิ่มการดูดซึมสารตะกั่ว ส่วนทางเดินหายใจร่างกายจะสามารถดูดซึมได้ร้อยละ๕๐ ทางผิวหนังจะดูดซึมสารตะกั่วได้น้อย
** อันตราย / ผลเสียของสารตะกั่วต่อสุขภาพ
- การสัมผัสทางหายใจ การหายใจเข้าไป ตะกั่วสามารถดูดซึมผ่านระบบการหายใจทำให้เกิดอาคารระคายเคืองของกล่องเสียงและปอด กรณีการสัมผัสอย่างเฉียบพลันจะทำให้มีอาคารคล้ายได้รับรสชาติของโลหะ เจ็บหน้าอก ปวดช่องท้อง และอาจทำให้ระดับตะกั่วในเม็ดเลือดสูง
- การสัมผัสถูกผิวหนัง อาจจะดูดซึมผ่านผิวหนังได้เมื่อสัมผัสเป็นระยะเวลานาน อาการแสดงเป็นโรคแพ้พิษตะกั่ว หรืออาจเป็นเหตุให้เกิดระคายเคืองเฉพาะที่ได้ ผื่นแดง ฯ
- การกลืนเข้าไป ความเป็นพิษทำให้เกิดอาการแพ้พิษตะกั่ว อาจเกิดอาการเป็นตะคริว คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ระดับตะกั่วในเลือดสูง ช็อก และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
- การสะสมของสารตะกั่วเป็นเวลานาน อาจก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ อาทิ มะเร็ง ความดันโลหิตสูง การรบกวนการมองเห็น เป็นต้น
ค่าปกติของสารตะกั่วในสิ่งแวดล้อม
• ค่าสารตะกั่วในน้ำดื่มไม่ควรเกิน 15 ppb [parts per billion ]
• ค่าสารตะกั่วในดินไม่ควรเกิน 5 ppm [parts per million ]
• ค่าสารตะกั่วในอากาศไม่เกิน 1.5 ug/cubic meter (micrograms per cubic meter) per quarter
** แนวทางป้องกัน
เนื่องด้วย งานที่ปฏิบัติในหน้าที่ เป็นนายช่างนายตรวจ ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร เมื่อได้เข้าตรวจสอบอาคารหรือโรงงาน จะทำการสังเกตเบื้องต้น เกี่ยวกับการจัดเก็บสารเคมีต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัย ถ้าพบสิ่งผิดปกติจะทำหนังสือประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และอุตสาหกรรมจังหวัดให้เข้ามาตรวจสอบอีกครั้ง เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดจากกรณีสารพิษชนิดนี้และชนิดอื่น ๆ รั่วไหล ทั้งนี้ เพื่อคงไว้ซึ่งคุณภาพของสิ่งแวดล้อม รวมถึงการกำชับผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ดูแลการบริหารงานในสถานที่นั้น ๆ เกี่ยวกับกระบวนการป้องกันและลดอุบัติเหตุจากการทำงานโดยเฉพาะในที่ที่มีโอกาสเสี่ยงเกี่ยวกับสารเคมีสูง ให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดตามกฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับภาวะแวดล้อม ( สารเคมี ) พ.ศ. 2520 และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมี พ.ศ. 2534

วันอาทิตย์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2553

การก่อสร้างอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522

การก่อสร้างอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522

The Construction of the Act.Building Control of Thailand 1979

ประสิทธิ์ จันทร์เมือง
หัวหน้าฝ่ายออกแบบและควบคุมอาคาร( นักบริหารงานช่าง ระดับ 7 ) สังกัดกองช่าง องค์การบริหารส่วนตำบลบางเสาธง

E-mail : www.sit2515@hotmail.com


บทนำ

จากความหมายและบทนิยามของ คำว่า “อาคาร” ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ได้ชี้ให้เห็นว่า “อาคาร” เข้ามาเกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่าง ๆ ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่อยู่อาศัย การประกอบอาชีพต่าง ๆ การพักผ่อนหย่อนใจ การเดินทาง การติดต่อสื่อสาร การรักษาพยาบาล การเรียนรู้ และอื่น ๆ ซึ่งหมายถึง การเกี่ยวข้องกับวิถีการดำรงชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่เกิด แก่ เจ็บ ตาย ถึงแม้หลักการส่วนใหญ่จะเน้นในเรื่องของความมั่นคงแข็งแรง ความปลอดภัย และสุขลักษณะของอาคารที่มีต่อมนุษย์เป็นสำคัญก็ตาม แต่คำว่า “อาคาร” ยังเข้าไปครอบคลุมในด้านการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง การสถาปัตยกรรม และการอำนวยความสะดวกด้านการจราจร อีกด้วย ยกตัวอย่าง เช่น
ที่พักอาศัย ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญของมนุษย์ในการดำรงชีวิต “ บ้าน ” เป็นจุดเริ่มต้นและสังคมแรกของมนุษย์ที่เรียกว่าครอบครัว บ้านเป็นที่พักอาศัย ซึ่งเป็นที่เกิดกิจกรรมต่าง ๆ ของครอบครัว กฎหมายควบคุมอาคารจึงเข้ามามีบทบาทและเกี่ยวข้องกับบ้านซึ่งเป็นอาคารตามกฎหมายควบคุมอาคารในด้านการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้าย และใช้หรือเปลี่ยนแปลงการใช้อาคาร ซึ่งกฎหมายได้กำหนดให้ ต้องมีการขออนุญาตและได้รับอนุญาตจากพนักงานท้องถิ่น ซึ่งกฎหมายได้กำหนดขั้นตอนและวิธีการต่าง ๆ ไว้ทุกขั้นตอน จึงเป็นความยากลำบากของผู้ที่จะดำเนินการขออนุญาตฯ ดังกล่าว รวมไปถึงผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการก่อสร้าง สถาปนิก วิศวกร ผู้รับเหมาก่อสร้าง ฯ ที่จะมีกฎหมายต่าง ๆ ของแต่ละอาชีพ ควบคุมไว้เป็นขั้นตอน ให้สามารถเข้าใจและปฏิบัติตามได้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้

นิยามศัพท์

เป็นคำอธิบายนิยามศัพท์ ตามที่กำหนดอยู่ในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 คือ

“ก่อสร้าง” หมายความว่า สร้างอาคารขึ้นใหม่ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการสร้างขึ้นแทนของเดิมหรือไม่

“อาคาร” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารชุมนุมคน โรงมหรสพ ซึ่งบุคคลเข้าอยู่และใช้สอยได้ และสิ่งที่สร้างข้นอย่างอื่น เช่น

1) เต็นท์ชั่วคราว ที่บุคคลเข้าไปใช้สอยได้เป็นอาคาร

2) รั้วสร้างติดต่อที่สาธารณะเป็นอาคาร แต่รั้วที่กั้นระหว่างเขตที่ดินต่างเจ้าของไม่เป็นอาคาร

3) ถังเก็บของที่มีความจุเกิน 100 ลูกบาศก์เมตร เป็นอาคาร

4) อัฒจันทร์ หรือที่ชุมนุมชน เป็นอาคาร

5) เขื่อน สะพาน อุโมงค์ ทางหรือท่อระบายน้ำ อู่เรือ คานเรือ ท่าน้ำ ท่าจอดเรือหรือประตูที่สร้างขึ้นติดต่อหรือใกล้เคียงกับที่สาธารณะ ถือเป็นอาคาร

6) ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้าย

     ก) ติดตั้งเหนือที่สาธารณะและมีขนาดเกิน 1 ตารางเมตร หรือ มีน้ำหนักรวมทั้งโครงสร้างเกิน 10 กิโลกรัม

     ข) ติดตั้งห่างจากที่สาธารณะในแนวราบ น้อยกว่าความสูงของป้าย และมีเนื้อที่ของป้ายเกิน 5,000 ตารางเมตร และมีน้ำหนักเกิน 10 กิโลกรัม

“ดัดแปลง” หมายความว่า เปลี่ยนแปลง ต่อเติม เพิ่ม ลด หรือขยายซึ่งลักษณะขอบเขต แบบรูปทรง สัดส่วน น้ำหนัก เนื้อที่ของโครงสร้างของอาคารหรือส่วนต่าง ๆ ของอาคาร ซึ่งได้ก่อสร้างไว้แล้วผิดไปจากเดิม

“รื้อถอน” หมายความว่า รื้อส่วนอันเป็นโครงสร้างของอาคารออกไป เช่น เสา คาน ตง หรือส่วนอื่นของโครงสร้าง


การก่อสร้างอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522

การก่อสร้างอาคารในประเทศไทยนั้น ก่อนที่จะดำเนินการก่อสร้าง เจ้าของอาคารจะต้องดำเนินการยื่นเรื่องเพื่อขออนุญาตก่อสร้างฯ จากหน่วยงานราชการในเขตพื้นที่ที่จะก่อสร้าง

การขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ถือเป็นส่วนหนึ่งของการควบคุมอาคารของภาครัฐ ตามกฎหมายควบคุมอาคาร เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้รับความปลอดภัย สะดวก สบาย มีสภาพความเป็นอยู่และสิ่งแวดล้อมที่ดี ตัวอาคารมีความมั่นคงแข็งแรงและปลอดภัยสำหรับการอยู่อาศัยหรือใช้สอยอาคาร

แต่เดิม มีพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้าง พ.ศ. 2479 ที่บังคับใช้ ต่อมาได้มีการปรับปรุงแก้ไขใหม่ เป็น พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2535 และ พ.ศ. 2543 โดยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร แต่ละฉบับจะออกกฎกระทรวงในรายละเอียดเกี่ยวกับการควบคุมอาคารในเรื่องต่างๆ เช่น เรื่องเอกสารประกอบการยื่นขออนุญาตก่อสร้างอาคาร มาตรฐานด้านการออกแบบที่เกี่ยวกับขนาด ระยะ ระยะร่นอาคาร ด้านความมั่นคง ความแข็งแรงของโครงสร้างอาคาร ด้านความปลอดภัย ด้านสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม ด้านแสงสว่าง ด้านการระบายอากาศ เป็นต้น ทั้งนี้ การควบคุมอาคารของภาครัฐ ปัจจุบันมีอยู่ 4 ส่วน คือ

ส่วนที่ 1 การตรวจสอบพิจารณาการขออนุญาตก่อสร้างอาคาร

ส่วนที่ 2 การตรวจสอบควบคุมการก่อสร้างอาคารให้เป็นไปตามแบบที่ได้รับอนุญาต

ส่วนที่ 3 การตรวจสอบรับรองอาคารที่ก่อสร้างเสร็จก่อนเปิดใช้สอยอาคาร
             (อาคารที่อยู่ในเกณฑ์ตามกฎหมาย)

ส่วนที่ 4 ตรวจสอบรับรองรายงานการตรวจสอบอาคารของอาคารเดิมที่อยู่ในเกณฑ์ โดยต้อง
              ตรวจสอบสภาพ อาคารประจำปี รวม 9 ประเภท ตามกฎกระทรวง ฯ กำหนด

เจตนารมณ์ของกฎหมายควบคุมอาคาร

1. การสถาปัตยกรรม ความสวยงาน ความเป็นระเบียบ

    เรียบร้อยของบ้านเมือง

2. ความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร

3. ความปลอดภัยของผู้อาศัยหรือผู้ที่เข้าไปใช้อาคาร

4. การป้องกันอัคคีภัยภายในอาคาร

5. การสาธารณสุขและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม

6. การอำนวยความสะดวกแก่การจราจร

จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมอาคารเมื่อ

1. อยู่ในเขตควบคุมอาคาร

2. อยู่ในเขตผังเมืองรวม

3. อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารชุมนุมคน

    โรงมหรสพ

4. อยู่ในเขตเพลิงไหม้

การดำเนินการต่อไปนี้จะต้องขออนุญาต

1. ก่อสร้างอาคาร

2. ดัดแปลงอาคาร

3. รื้อถอนอาคาร

4. เคลื่อนย้ายอาคาร

5. การใช้หรือเปลี่ยนแปลงการใช้อาคาร

6.การตรวจสภาพอาคาร

ประเภทของอาคารที่ควบคุมการใช้ ตามมาตรา 32

โดยลักษณะของอาคารที่ยื่นขออนุญาตก่อสร้าง ประกอบด้วย

1) อาคารที่ใช้เพื่อกิจการพาณิชยกรรม ที่มีพื้นที่ใช้สอย

     ตั้งแต่ 300 ตารางเมตร ขึ้นไป

2) อาคารที่ใช้เพื่อกิจการพาณิชยกรรมประเภทค้าปลีก ค้าส่ง ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 300 ตารางเมตรขึ้นไป

3) อาคารสำหรับใช้เป็นหอประชุม ตั้งแต่ 300 ตารางเมตรขึ้นไป

4) อาคารสำหรับใช้เป็นที่ทำการ หรือสำนักงาน ตั้งแต่ 300 ตารางเมตรขึ้นไป

5) อาคารที่ใช้เป็นโรงงานอุตสาหกรรม

6) อาคารที่ใช้เป็นกิจการการศึกษา

7) อาคารที่ใช้เป็นหอพัก ตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก

8) อาคารที่ใช้สำหรับเป็นอาคารอยู่อาศัยรวม

9) อาคารสำหรับใช้เก็บวัตถุอันตราย

การพิจารณาอนุญาตก่อสร้างอาคารต่าง ๆ นั้นจะต้องพิจารณาหลายด้าน อาทิเช่น

ด้านที่ว่างภายนอกอาคาร ซึ่งอาคารแต่ละประเภทจะพิจารณาที่ว่างด้านข้างไม่เท่ากัน เช่น โรงงานที่มีพื้นที่ของอาคารทุกชั้นรวมกันเกิน 1,000 ตารางเมตร จะต้องมีที่ว่างภายนอกอาคารทุกด้านไม่น้อยกว่า 10.00 เมตร เป็นต้น

ด้านแนวอาคารและระยะต่าง ๆ ของอาคาร จะต้องเว้นห่างจากถนนสาธารณะและที่ดินข้างเคียงอย่างถูกต้อง และที่จอดรถยนต์ของอาคารแต่ละประเภทต้องมีเพียงพอ

ด้านความมั่นคงแข็งแรงและความปลอดภัยของอาคาร โดยวิศวกรและสถาปนิก ต้องรับรองการคำนวณโครงสร้างและออกแบบงานระบบต่าง ๆ เช่น บันไดหนีไฟ ระบบดับเพลิง ระบบทนไฟของโครงสร้างหลัก เป็นต้น

นอกจากที่กล่าวมาแล้ว เจ้าของอาคารยังจะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติผังเมืองของแต่ละพื้นที่ โดยจำแนกไว้หลายประเภท เช่น

พื้นที่สีเหลือง คือ ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย สถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการเป็นส่วนใหญ่ สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่นให้ใช้ได้ไม่เกินร้อยละยี่สิบของแปลงที่ดินที่ยื่นขออนุญาต

พื้นที่สีส้ม คือ ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย สถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการเป็นส่วนใหญ่ สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่นให้ใช้ได้ไม่เกินร้อยละยี่สิบของแปลงที่ดินที่ยื่นขออนุญาต

พื้นที่สีน้ำตาล คือ ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย สถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการเป็นส่วนใหญ่ สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่นให้ใช้ได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของแปลงที่ดินที่ยื่นขออนุญาต

พื้นที่สีแดง คือ ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม การอยู่อาศัย สถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการเป็นส่วนใหญ่ สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่น ให้ใช้ได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของแปลงที่ดิน ที่ยื่นขออนุญาต

พื้นที่สีม่วง คือ ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่ออุตสาหกรรมและคลังสินค้า การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการเป็นส่วนใหญ่ สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่น ให้ใช้ได้ไม่เกินร้อยละสิบห้าของแปลงที่ดินที่ยื่นขออนุญาต

พื้นที่สีเขียว คือ ที่ดินประเภทชนบท เกษตรกรรม ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม สถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการเป็นส่วนใหญ่ สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่น ให้ใช้ได้ไม่เกินร้อยละสามสิบของแปลงที่ดินที่ยื่นขออนุญาต

อาคารบางประเภท ยังจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องอีกมาก เช่น การจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม การปฏิบัติตามเขตควบคุมการบิน เป็นต้น

จากรายละเอียดของการขออนุญาตก่อสร้างอาคารดังกล่าว จะเห็นว่าพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ซึ่งบังคับใช้สำหรับการก่อสร้างนั้น ใช้กับลักษณะภาพรวมทั้งประเทศ เช่น ด้านระยะเว้นของอาคารที่ต้องห่างจากแนวเขตที่ดิน ในสภาพพื้นที่แต่ละจังหวัดไม่เหมือนกัน ราคาที่ดินไม่เท่ากัน จึงส่งผลให้ในเขตชุมชนเมืองหลวงหรือบริเวณย่านธุรกิจ มีการลักลอบก่อสร้าง หรือต่อเติมอาคารในส่วนที่เป็นที่ว่างตามกฎหมาย เป็นจำนวนมาก ซึ่งหน่วยงานราชการจะต้องคอยดำเนินการตรวจสอบต่อไป แต่ขณะเดียวกันจะต้องไม่ลืมว่า ระเบียบ ข้อบังคับ หรือข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่ตราไว้นั้น มีไว้เพื่อจัดระเบียบให้ประชาชนอยู่ร่วมกันอย่างปลอดภัยและมีความสงบสุข

กิตติกรรมประกาศ

ขอขอบพระคุณอาจารย์ที่ปรึกษาของข้าพเจ้า ที่ให้โอกาสและคำแนะนำต่าง ๆ แก่ข้าพเจ้า ตลอดจนผู้บังคับบัญชาและ เพื่อนทุกคนที่คอยสนับสนุนช่วยเหลือ ให้กำลังใจ และขอขอบพระคุณคณาจารย์ทุกท่าน ที่ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาแก่ข้าพเจ้า จนทำให้มีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้เพื่อมาประกอบการเขียนบทความนี้ได้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

เอกสารอ้างอิง

( 1 ) สำนักควบคุมและตรวจสอบอาคาร กรมโยธาและผังเมือง, 2551. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร
        พ.ศ. 2522. โรงพิมพ์ดอกเบี้ย : สำนักพิมพ์สามเสน.

( 2 ) นายนิราช เย็นจิตต์ร, พ.ศ.2550. ข้อกำหนดเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคาร. Property Real. เล่ม 35 :
       หน้า 39.

ประวัติผู้เขียน

นายประะสิทธิ์ จันทร์เมือง สำเร็จ การศึกษาระดับปริญญาตรี   วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา จากมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต และกำลังศึกษาในระดับปริญญาโท  สาขาวิชาการตรวจสอบ และ         
                                                กฎหมาย  วิศวกรรมภาควิชา วิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์
  มหาวิทยาลัยรามคำแหง